
หลักฐานทางประวัติศาสตร์อาหารเล่าว่า แกงพะแนงมาจากไก่พะแนงย่างไฟ เหมือนที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท เขียนไว้ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ (พ.ศ. 2515) ว่า “ต่อมาการทำไก่พะแนงแบบนั้นอาจไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวงเพราะต้องกินเวลานานมาก จึงได้ยักย้ายเปลี่ยนมาเป็นเป็ดหรือไก่สับชิ้นโตๆ เอาลงผัดกับเครื่องแกงและกะทิในกระทะหรือหม้อ กลายเป็นไก่พะแนงหรือเป็ดพะแนงอย่างที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน พะแนงเนื้อก็มีกินในทุกวันนี้ และเนื้อนั้นก็หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เช่นเดียวกับแกงเผ็ด ผิดกันแต่เครื่องน้ำพริกเท่านั้น”
กูรูตำรับอาหารไทยส่วนใหญ่ล้วนเห็นว่า แกงพะแนงที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นหลัก ได้อิทธิพลอาหารจากกลุ่มมุสลิม ทั้งเปอร์เชีย อินเดีย และมลายู โดยพื้นฐานวัฒนธรรมอาหารมุสลิมจะใช้เครื่องหมักที่หลากหลาย โดยมีพริกแกงเป็นตัวเลือกส่วนน้อย เช่น ไก่ฆอและในปักษ์ใต้ของไทย ไก่เปรักในมาเลเซีย และไก่บาหลีในอินโดนีเซีย เป็นต้น
โดยเมนูแกงพะแนงหมู พะแนงเนื้อคล้ายคลึงกับแกงมัสมั่น โดยเฉพาะการนำเครื่องเทศจำพวกยี่หร่า ลูกผักชี ที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ มาใช้ผสมผสานเข้ากับเครื่องสมุนไพรไทยหอมๆ อย่าง ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด กระเทียม กะปิ ฯลฯ
อีกทั้ง มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซีย สำหรับคนไทยไม่นิยมทานอาหารที่มีเครื่องเทศกลิ่นฉุน ต่อมาเมล็ดยี่หร่าจึงค่อยๆ เลือนหายไปจากเมนูแกงพะแนง และอีกหนึ่งหลักฐานที่เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องแกงพะแนงหมู พะแนงเนื้อ คือ “ถั่วลิสงคั่ว” แม้ว่าจะเห็นการใส่ถั่วลิสงคั่วในแกงพะแนงได้น้อยในปัจจุบัน แต่ก็เป็นตัวบ่งชี้ว่าได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมุสลิม ตามตำรับแท้ของชาวมุสลิมต้องใส่ถั่วชนิดต่างๆ ลงไปในอาหาร เช่น อัลมอนด์และเม็ดมะม่วงหิมพานต์บด เพื่อเพิ่มความเข้มข้นให้น้ำแกงนั่นเอง
ไม่ว่าจะได้รับอิทธิพลมาจากที่ไหน "แกงพะแนง" ก็พิสูจน์แล้วว่า เป็นแกงที่สามารถครองใจผู้คนทั่วโลกมายาวนาน ส่วนรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของแกงพะแนงหมู พะแนงเนื้อต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม กลมกล่อม ไม่เผ็ดจัดจานเหมือนแกงประเภทอื่นๆ น้ำแกงขลุกขลิก นิยมทานกับข้าวสวย คุณเองก็สามารถสร้างสรรค์เมนูอาหารง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้าน แค่มี “น้ำแกงพะแนงพร้อมปรุง” ตรา รอยไทย อร่อยเหมือนเปิดตำราแกงไทย สั่งซื้อได้ง่ายๆ ที่นี่ (คลิก)